งานบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัต)
งานบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัต) คือ
การทำบุญอุทิศส่วนกุสลไปให้กับเปรต
ซึ่งงานบุญข้าวสากกับงานบุญข้าวประดับดินในเดือน ๙ จะมีความคล้ายคลึงกัน นั่นคือ
เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเปรตและผู้ล่วงลับไปแล้ว
มูลเหตุของการเกิดงานบุญข้าวสาก สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งอาศัยอยู่กับมารดา ส่วนบิดาเสียชีวิตแล้ว
เมื่อถึงวัยที่ต้องแต่งงาน
มารดาจึงหาผู้หญิงมาให้ชายหนุ่มจึงแต่งงานกับหญิงสาวผู้นั้น
แต่อยู่กันมานานก้ไม่มีบุตรสักที มารดาจึงหาภารยาให้ใหม่
พออยู่กินมาไม่นานภารยาน้อยก็ตั้งครรภ์
ภารยาหลวงเกิดอิจฉาจึงคิดวางแผนบอกกับภรรนาน้อยว่าถ้าตั้งครรภ์ภรรยาน้อยต้องบอกนางเป็นคนแรก
เมื่อภรรยาน้อยตั้งครรภ์ นางจึงบอกกับภรรยาหลวง
ภรรยาหลวงจึงนำยาที่ทำให้แท้งให้ภรรยาน้อยกิน
พอภรรยาน้อยตั้งครรภ์ครั้งที่สองภรรยาหลวงก็นำยาแท้งให้กินอีกพอครั้งที่สามภรรยาน้อยไม่บอกภรรยาหลวงแต่หนีไปอาศัยอยู่กับญาติ
ภรรยาหลวงจึงตามไปแล้วให้ยากินอีก แต่คราวนี้ไม่แท้งเพราะครรภ์แก่แล้ว
แต่ลูกในท้องนอนขวางทำให้บีบหัวใจจนตาย
ก่อนที่ภรรยาน้อยจะตายนางได้จองเวรกับภรรยาหลวงว่า
ชาติหน้าของให้นางได้เกิดเป็นยักษิณีและให้ได้กินภรรยาหลวงและลูกของภรรยาหลวง
ชาติต่อมาภรรยาน้อยได้เกิดเป็นแมว
ส่วนภรรยาหลวงถูกสามีฆ่าตายแล้วเกิดเป็นไก่ และอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกับแมว
ครั้นไก่ถูกออกไข่มาก็ถูกแมวกินถึง 3 ครั้ง ก่อนแม่ไก่ตาย แม่ไก่พูดอาฆาตแมวว่า
ในชาติหน้าขอให้ได้กินแม่แมวและลูกแมว
ชาติต่อมาแม่ไก่ได้เกิดเป็นเสือเหลือง แมวไปเกิดเป็นนางเนื้อ พอนางเนื้อตกลูก
เสือเหลืองก็ไปกินลูกนางถึง 3 ครั้ง ก่อนนางเนื้อตายได้ผูกอาฆาตกับเสือเหลืองว่า
ชาติหน้าขอให้ได้กินเสือเหลืองและลูกเสือเหลือง
ชาติต่อมานางเนื้อได้เกิดเป็นยักษิณี
เสือเกิดเห็นนางกุลธิดาในเมืองสาวัต
ถึงครั้นเจริญเติบโตก็แต่งงานกับชายหนุ่มพอมีลูกก็ถูกนางยักษิณีขโมยลูกไปกินถึง 2
ครั้ง ส่วนครั้งที่ 3
นางกุลธิดาและสามีพร้อมลูกวิ่งหนีไปยังวัดเชตวันมหาวิหารซึ้งขณะนั้นพระพุทธเจ้ากำลังเทศนาอยู่
สองมีภรรยาจึงเข้าไปหาพระพุทธเจ้า ส่วนนางยักษิณีอยู่หน้าวัด
พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ไปเรียกนางยักษิณีเข้ามาและเล่าภูมิหลังของทั้งสามให้ฟัง
พระพุทธเจ้าทรงให้นางกุลธิดานำนางยักษิณีไปเลี้ยง
นางกุลธิดาจึงให้นางยักษิณีไปอยู่ท้ายทุ้งนา นางยักษิณีเป็นผู้หยั่งรู้ฟ้าฝน
ปีใดฝนจะแล้งหรือน้ำท่วมนางก็บอกกับนางกุลธิดาทุกครั้ง
ทำให้ข้าวในนาของนางกุลธิดาได้ผลดี ต่อมาชาวบ้านรู้ข่าวก็พร้อมใจกันไปถามเกณฑ์ขอฝนฟ้า
ทำใช้ชาวนาของชาวบ้านได้ผลดี ชาวบ้านจึงนำอาหารไปให้กับยักษิณีเป็นการตอบแทน
“สำหรับบุญข้าวสากในปัจจุบัน
จะกระทำในวันขึ้น 15 ค้ำ เดือน 10
โดยชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวานใส่บาตรพอถึงตอนเพลชาวบ้านจะจัดสำรับกับข้าวและเครื่องไทยทาน
นำไปถวายพระโดยเขียนสลากบอกชื่อเจ้าของสำหรับแล้วใส่ลงบาตร
และนิมนต์ให้พระสงฆ์และสามเณรรูปใดจับสลากเป็นชื่อของใครคนนั้นก็จะนำสำรับกับข้าวไปถวายพระสงฆ์หรือสามเณรรูปนั้น”